วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ความหมาย

         
       
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems : ES)
            ในปัจจุบันมีผู้กล่าวขานถึงระบบผู้เชี่ยวชาญ (EXPERT SYSTEM:ES) และปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELIGENCE : AL) กันมากขึ้นทุกขณะ จนบางครั้งเรายากที่หาความแตกต่างเนื่องจากระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งในที่นี้ได้ หมายถึงฮาร์ดแวร์ซอฟด์แวร์ได้ถูกพัฒนาให้มีประสิทธิภาพขึ้นมาอย่างมากและความสามารถของมันก็ไม่ได้หยุดนิ่งเลย ทำให้มนุษย์เกิดความคิดที่จะทำให้มนุษย์เป็นผู้เขียนโปรแกรมคำสั่งให้กับมันโดยตรง ดังนั้น คำว่า จึงได้กำเนิดขึ้นและ AL ได้ถูกแยกออกเป็น 2 แนวทางด้วยกัน โดยแนวทางแรกเป็นแนวทางที่จะให้คอมพิวเตอร์รับรู้ถึงภาษามนุษย์ เช่น ผู้ใช้จะพูดผ่านไมโครโฟนที่ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ว่า "ให้แสดงยอดรายงานการขายวันนี้" คอมพิวเตอร์ก็จะทำการดึงข้อมูลการขายมาประมวลผลการวิจัยทางด้านนี้ได้พัฒนาไปมาก และมีแนวโน้มที่จะเป็นจริงได้ในอนาคต ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบที่ได้นำเอาความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาเก็บไว้กล่าวคือ ระบบจะเก็บเอาปัจจัยทุกประการที่ผู้เชี่ยวชาญต้องคำนึงถึงตามปัจจัยต่างๆ และหาคำตอบให้กับผู้ใช้ ระบบช่วยการตัดสินใจหรือ DSS ต่างกับระบบผู้เชี่ยวชาญตรงที่ว่า ระบบช่วยการตัดสินใจเพียงแต่เสนอทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้หรือนักบริหารเท่านั้น ดังนั้นผู้ตัดสินใจสุดท้ายคือ ผู้ใช้อีก ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญจะให้คำตอบซึ่งเป็นการตัดสินใจของระบบเองเลย โดยไม่ต้องมาผ่านผู้ใช้ซึ่งเป็นคนอีก ตัวอย่างของระบบผู้เชี่ยวชาญที่มีใช้ปัจจุบันและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีคือ ระบบผู้เชี่ยวชาญของ AMEX ที่ใช้สำหรับตรวจสอบเครดิตของผู้ใช้บัตร เป็นต้น              ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือระบบคอมพิวเตอร์ ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมาน (inference) ในการแก้ปัญหายากๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ระบบผู้เชี่ยวชาญได้ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้งานในระบบต่างๆ อย่างแพร่หลายมากว่า 30 ปี ไม่ว่าจะเป็นในแวดวงธุรกิจ การแพทย์ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม อุตสาหกรรม เป็นต้น ตัวอย่างของ expert system applications ได้แก่ diagnosis of faults and diseases, automobile diagnosis, interpretation of data (เช่น sonar signals), mineral exploration, personnel scheduling, computer network management, weather forecasting, stock market prediction, consumer buying advice, diet advice เป็นต้น จะเห็นได้ว่า วัตถุประสงค์หลักของระบบผู้เชี่ยวชาญ ก็คือ การช่วยในการตัดสินใจ การให้ความรู้ คำแนะนำ หรือคำปรึกษา อย่างที่เราต้องการจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน



ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง ( EIS) 

             EIS   ย่อมาจาก   executive information system  แปลว่า ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารหมายถึง    การนำสารสนเทศหรือข้อมูลต่าง ๆ มาเก็บไว้ในรูปแบบที่ผู้บริหารมักจะต้องการใช้ และสามารถจะเรียกมาดู หรือใช้ได้สะดวก              ระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง (EIS) เป็นระบบข่าวสารที่มีความสำคัญต่อผู้บริหารองค์กรในเรื่องการพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผนกลยุทธ์ขององค์กร ให้สามารถจัดการองค์กร ให้สามารถดำเนินการบรรลุเป้าหมายหรือแข่งขันกับองค์กรอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาร           การจัดทำระบบข่าวสารเพื่อการบริหารชั้นสูง มิอาจจัดทำโดยเอกเทศได้โดยลำพัง จะต้องรอผลการพัฒนาระบบข้อมูล-ข่าวสารขั้นต้นอื่นๆ ขึ้นก่อน ข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานในระบบ TPS, MIS และ/หรือ DSS จะเป็นรากฐานที่สามารถนำมาสรุปประมวลผลกับข้อมูลภายนอก (ถ้าจำเป็น)  เพื่อประกอบการตัดสินใจ บ่อยครั้งการพัฒนาระบบ EIS จากวิธีการข้างต้น มิอาจได้ข้อมูลภายในองค์กรอย่างครบถ้วน               การเข้าสู่วงจรการพัฒนาระบบงาน (System Development Life Cycle) เพื่อพัฒนาระบบข่าวสารจึงเป็นวิธีการพื้นฐานที่ต้องกระทำ หลายๆ องค์กรไม่ต้องการประสบปัญหาขั้นต้น การจัดทำแผนแม่บทสารสนเทศ เพื่อกำหนดกรอบของระบบงานสารสนเทศหลัก ระบบย่อย และความต้องการข้อมูลของแต่ละประเภทของระบบข่าวสาร (TPS, MIS, DSS, EIS) ไว้อย่างครบถ้วน ในขั้นต้นนั้นกำหนดความจำเป็นเร่งด่วนจะช่วยในการพิจารณาคัดเลือกระบบงานที่จะพัฒนาก่อนหลังต่อไปได้อย่างมีระบบ



ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)

           DSS   คือระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS) เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอนหรืออาจกล่าวได้ว่า DSS เป็นระบบที่โต้ตอบกันโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อหาคำตอบที่ง่าย สะดวก รวดเร็วจากปัญหาที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน  ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ               

          การพัฒนาของเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวขององค์การธุรกิจช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้หลายหน่วยงานในสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มพัฒนาระบบสารสนเทศที่มีขนาดและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อใช้ในการรวบรวมข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจต่างๆ ตลอดจนพัฒนาให้ระบบสามารถสื่อสารตอบโต้อย่างฉับพลันกับผู้ใช้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจในปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง โดยที่แนวความคิดนี้ได้เป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems) หรือที่นิยมเรียกว่า DSS ในปัจจุบัน  มีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบายความหมาย   DSS อาทิเช่น  Gerrity (1971) ได้ให้ความหมายไว้ว่า DSS คือ การผสมผสานอย่างเหมาะสมระหว่างความมีเหตุผลของมนุษย์กับเทคโนโลยีสารสนเทศและชุดคำสั่งที่นำมาใช้โต้ตอบ เพื่อแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน ความหมายนี้จะอธิบายภาพรวมเชิงปรัชญา ซึ่งครอบคลุมลักษณะพื้นฐานของ DSS แต่ยังไม่สามารถให้คำอธิบายลักษณะของปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยอาศัย DSS เข้าช่วย หรือให้ภาพที่ชัดเจนของ DSS   Kroenke และ Hatch (1994) ได้นำความหมายเดิมมาปรับปรุงและเสนอว่า DSS คือ ระบบโต้ตอบฉับพลันที่สนับสนุนโดยคอมพิวเตอร์ซึ่งนำมาช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง  ในความหมายนี้ได้มีนักวิชาการหลายท่านวิจารณ์ว่า DSS สมควรที่จะช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาทั้งแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง ไม่เพียงเฉพาะปัญหาแบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น                Laudon และ Laudon (1994) อธิบายว่า DSS คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ในระดับบริหารของแต่ละองค์การ โดยระบบจะประกอบด้วยข้อมูลและแบบจำลองในการตัดสินใจที่ซับซ้อน เพื่อนำมาสนับสนุนการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง                ดังนั้นสรุปความหมายของ DSS ได้ว่า คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โดยที่ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูล และแบบจำลองในการตัดสินใจที่สำคัญ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง  



ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System : GIS )                

             ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย                

GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน


ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS)

             ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)  หมายถึง   ระบบที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกองค์การอย่างมีหลักเกณฑ์ เพื่อนำมาประมวลผลและจัดรูปแบบให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการทำงาน และการตัดสินใจในด้านต่าง ๆ ของผู้บริหารเพื่อให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่เราจะเห็นว่า MIS จะประ กอบด้วยหน้าที่หลัก 2 ประการ คือ   1. สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การมาไว้ด้วยกันอย่างเป็นระบบ  2. สามารถทำการประมวลผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานและการบริหารงานของผู้บริหาร    ดังนั้นถ้าระบบใดประกอบด้วยหน้าที่หลักสองประการ ตลอดจนสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่หลักทั้งสองได้อย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ ระบบนั้นก็สามารถถูกจัดเป็นระบบ MIS ได้ ระบบ MIS ไม่จำเป็นที่จะต้องสร้างขึ้นจากระบบคอมพิวเตอร์ MIS อาจสร้างขึ้นมาจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ แต่ต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่หลักทั้งสองประการได้อย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ แต่เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการข้อมูล นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analyst and  Designer ) จึงออกแบบระบบสารสนเทศให้มีคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการจัดการสารสนเทศ
           ปัจจุบันขอบเขตการทำงานของระบบสารสนเทศขยายตัวจากการรวบรวมข้อมูลที่มาจากภายในองค์การไปสู่การเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ทั้งจากภายในท้องถิ่น ประเทศ และระดับนานาชาติ ปัจจุบันธุรกิจต้องใช้เทคโนโลยีสาร สนเทศที่มีศักยภาพ สูงขึ้นเพื่อสร้าง MIS ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่ม ขีดความสามารถของธุรกิจ และขีดความสามารถในการบริหารงานของผู้บริหารในยุคปัจจุบัน แต่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงคือคน ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจในศักยภาพและขอบเขตของการใช้งานระบบสารสนเทศ (MIS) นอกจากนี้บุคลากรบางส่วนที่ขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการใช้งานระบบสารสนเทศ ไม่ยอมเรียนรู้และเปิดรับการเปลี่ยนแปลง จึงให้ความสนใจหรือความสำคัญกับการปรับตัวเข้ากับ MIS น้อยกว่าที่ควร



ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS ) 

              ระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS )เป็นระบบสำหรับเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล การจัดตารางนัดหมาย การประชุมทางไกล*สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น พนักงานป้อนข้อมูล(Data Entry Worker)*เป็นกลุ่มพนักงานที่มีความรู้ในระดับต่ำกว่าผู้ชำนาญการ (Knowledge Workers)*OAS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกันระบบสำนักงานอัตโนมัติเป็นระบบที่ออกแบบขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับอุปกรณ์ต่างๆ ของสำนักงาน เพื่อประโยชน์ในการใช้งาน ระบบสำนักงานอัตโนมัติประกอบด้วย· ระบบจัดการเอกสาร· ระบบจัดการด้านข่าวสาร· ระบบประชุมทางไกล· ระบบสนับสนุนสำนักงานระบบสำนักงานอัตโนมัติ Office Automation Systems(OAS) ระบบสำนักงานอัตโนมัติ OAS คือ ระบบสารสนเทศที่สามารถสร้าง (Create) เก็บข้อมูล (Store) ปรับปรุงข้อมูล (Modify) แสดงภาพ (Display) และติดต่อสื่อสารระหว่างระบบธุรกิจ โดยการใช้คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาช่วย แทนการพูด เขียน หรือส่งรูปภาพแบบเดิมผู้บริหารคอมพิวเตอร์ผู้บริหารคอมพิวเตอร์ อาจเป็นหัวหน้าของศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือ ศูนย์เครือข่าย ก็ได้ อาจเรียกว่า PC Manager LAN Manager มีหน้าที่หลักในการดูแลระบบและเครื่องคอมพิวเตอร์1. ควบคุมปริมาณเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์2. ควบคุมค่าใช้จ่าย3. ความเป็นเอกภาพและความปลอดภัยของข้อมูล4. การระมัดระวังการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่นอกเหนือการทำงานศูนย์สารสนเทศ (Information Center)เป็นหน่วยงานที่พนักงานจะได้รับความช่วยเหลือ ในการแก้ไขปัญหาทางซอฟต์แวร์ ในองค์กรใหญ่ๆ ศูนย์ข้อมูลอาจเรียกว่า Support Center ซึ่งให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆการให้บริการของศูนย์สารสนเทศมี ดังนี้1. การเลือกใช้ซอฟต์แวร์2. การเข้าถึงข้อมูล3. การเข้าถึงเครือข่าย4. การฝึกอบรม5. การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคระบบสำนักงานอัตโนมัติ ( Office Automation System : OAS )เป็นระบบสำหรับเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่และผู้บริหาร เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูล การจัดตารางนัดหมาย การประชุมทางไกล* สนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลโดยตรง เช่น พนักงานป้อนข้อมูล (Data Entry Worker)* เป็นกลุ่มพนักงานที่มีความรู้ในระดับต่ำกว่าผู้ชำนาญการ (Knowledge Workers)* OAS เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการสนับสนุนการใช้ข้อมูลร่วมกัน และอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างกัน
  





















































































































































x
x





วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

โครงการ กีฬาและสันทนาการ






1. ชื่อโครงการ กีฬาและสัทนาการ 
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ
            2.1 นางสาวสุภาพร ไกยสวน
            2.2 นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ       
3. หลักการและเหตุผล
            เนื่องจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดกิจกรรมนักศึกษาของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการทำงานเป็นกระบวนการ สานต่องานเก่าและวางแผนโครงสร้างต่อเติมงานใหม่ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มีศักยภาพในการทำงานมากขึ้น รู้จักการทำงานเป็นกระบวนการ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ รู้จักการเสียสละและการให้ ปลูกฝังจิตอาสาให้นักศึกษาและ มีบุคลิกภาพที่ดี ในการเข้าสังคมมากขึ้น  ดังนั้น ทางคณะเทคโนโลยีสารสนเทศจึงขอจัดโครงการ “กีฬาและสันทนาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีการศึกษา ๒๕๖0 
4. วัตถุประสงค์ของโครงการ
         4.1 นักศึกษาได้ฝึกทักษะในการกล้าแสดงออก อดทน และการเข้าร่วมสังคม
         4.2 นักศึกษาได้รู้จักการทำงานเป็นกระบวนการ
         4.3 นักศึกษาสามารถถ่ายทอดประสบการณ์และนำไปใช้ในชีวิตได้จริงและเกิดผลประโยชน์สูงสุด
5. กลุ่มเป้าหมาย 
         5.1 สถานะกลุ่มเป้าหมาย  นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ 
6. วิธีดำเนินการ
ลำดับ
กิจกรรม
ระยะเวลาดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
1.
การประชุมวางแผนดำเนินงาน
1 เดือน
นางสาวสุภาพร ไกยสวน
นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ  
2.
เขียนโครงการ
2 วัน
นางสาวสุภาพร ไกยสวน
นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ  
3.
เสนอโครงการเพื่ออนุมัติ
1 อาทิตย์
นางสาวสุภาพร ไกยสวน
นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ  
4.
จัดเตรียมเอกสารและสถานที่
1 อาทิตย์
นางสาวสุภาพร ไกยสวน
นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ  
5.
ดำเนินกิจกรรม
3 วัน
นางสาวสุภาพร ไกยสวน
นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ  
6.
สรุปและประเมินผล
1 อาทิตย์
นางสาวสุภาพร ไกยสวน
นางสาวพรทิพย์ ทวีวรรณกิจ  














7. ระยะเวลาในการดำเนินงาน    ตุลาคม 2560.
8. งบประมาณ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก งบแผ่นดิน งบรายได้ จำนวน 50,000 บาท 
9. สถานที่ในการจัดโครงการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
10.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
              10.1 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีศักายภาพและสุขภาพอนามัยที่ดี
              10.2นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีความเข้าใจแผนการจัดกิจกรรมสันทนาการ
              10.3 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีจิตสำนึกในการเป็นผู้นำและสามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงสุด   
               10.4 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีความรักสามัคคีในหมู่คณะ
12.  วิธีการติดตามและประเมินผล
               12.1 แบบประเมิน
               12.2 สรุปประเมิน
               12.3 สรุปโครงการ
           
ลำดับ
กิจกรรม

ระดับความพึงพอใจ

5
4
3
2
1
1
ความเหมาะสมในการจัดกิจกรรม





2
เนื้อหาหน้าที่นำมาอบรม





3
ประโยชน์จากการอบรม





4
สามารถนำความรู้ไปใช้กับการเรียนได้





5
ความพึงพอใจในการจัดการอบรมนี้โดยภาพรวม











วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

นวัตกรรมที่ 5




Porsche Mission E




 Porsche ที่ในอีก 5 ปีข้างหน้าเราจะสามารถใช้ แผงการควบคุม Holographic ได้อย่างเต็มรูปแบบได้ในรุ่น Mission E โดยเพียงแค่กดปุ่มจากแผงควบคุมเพื่อทำความเร็วที่ 250 ไมล์ภายใน 15 นาทีได้ ซึ่งนั่นจะทำให้เราเปิดมุมมองเรื่องของการสร้างสรรค์นวัตกรรมยานยนต์ที่ลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ หรือกล้าที่จะเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่ท้าทายมากขึ้นอีกด้วย