วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

RMUBi




ความเป็นมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นสภาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในภาคอีสาน ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตมายาวนานประมาณ 70 ปี มีบัณฑิตที่ผลิตออไปครอบคลุมอยู่ทุกพื่นที่ของภาคอีสาน บุคลากรเหล่านั้นเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพได้รับการยอมรับกันเป็นที่ประจักษ์ทั่วไป  จึงเสนอโครงการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม (Rajabhat Maha Sarakham University Business Incubator:RMUBI) เพื่อรองรับนโยบายการจัดตั้งหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ)
          โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีควบคุมคู่กับความรู้ด้านธุรกิจในหลากหลายกิจกรรมที่สอดคล้องกับสหสาขาวิชาที่เปิดสอนภายในหลากหลายกิจกรรมที่สอดคล้องกับสหสาขาวิชาที่เปิดสอนภายในมหาวิืทยาลัยฯ และอาศัยรากฐานความแข้มแข็งบของผลงานวิจัยและบริการวิชาการที่มีอยู่มาช่วยพัฒนาภาคการผลิตและชุมชนให้มีความเข้มแข็งขึ้นโดยการใช่พื้นที่และเวลาร่วมกันในการทำงาน เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการจัดตั้งบริษัทใหม่ความคู่กับการสนับยสนุนในด้านปัจจัยเชิงธุรกิจต่างๆ ที่สามารถเร่งอัตราเร็วของการเจริญเติบโตของบริษัทจนพร้อมที่จะดำเนินกิจได้ด้วยตนเอง

   วิสัยทัศน์
หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามเป็นศูนย์กลางการส่งเสริม ถ่ายทอดงานวิจัยควบคู่กับความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อการนำไปสู่การเสริมสร้างผู้ประกอบการรุ่นใหม่และเป็นที่พึ่งของชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
         1. สนับสนุนและพัฒนาให้เกิดผู้ประกอบการรุ่นใหม่
         2. สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิสาหกิจชุมชนสำหรับนักศึกษา บัณฑิตใหม่ เป็นต้น
         3. ให้คำปรึกษา อำนวยความสะดวก และบริการแก่ผู้ประกอบการ

หลักการและเหตุผล
หน้าที่หนึ่งที่สำคัณของหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม คือการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ธุรกิจในนามชมรมพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ (Stuedent Entrepreneurs Club : SEC )
โดยรูปแบบของ SEC จะมีการกำหนดประเด็นหลักของการจัดกิจกรรมเป็น 4 ประเด็นดังนี้
1. พัฒนา SEC ให้มีความเข้มแข็งมั่นคง
    -จัดโครงสร้างการบริหาร ข้อบังคับและระเบียบของชมรมพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ ให้เอื้อต่อ การดำเนินงานของ SEC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    -ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสมาชิกให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา
    -เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ SEC ต่อเนื่อง
2. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของสมาชิก SEC ให้เป็นผู้นำและมีความรู้ทางธุรกิจ
    -ส่งเสริมให้สมาชิก SEC ได้เข้าร่มฝึกอบรม เช่น การอบรมเขียนแผนธุรกิจ การขาย การตลาด และกิจกรรมอื่นๆ
    -ส่งเสริมให้สามชิกได้มีการถ่ายทอดความรูประสบการณ์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างเหมาะสม 
    -จัดการศึกษาดูงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่สามารนำมาประยุคต์ใช้ในการทำธุรกิจได้
3. ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
    -ส่งเสริมและสนับสนุนงบประมาณ ในลักษณะให้ยืมคืนทุนโดยไม่คิดกำไร ในการดำเนินธธุรกิจของสมาชิก SEC ที่สนใจตลอดเวลาและต่อเนื่อง
    -เผยแพร่กิจกรรมหรือธุรกิจของสมาชิก SEC 
    -หางานหรือกิจกรรมที่สร้างรายได้ให้กับสมาชิก SEC เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเห็นผลเป็นรูปธรรม
4. สร้างขวัญกำลังใจและสวัสดิการให้แก่สมาชิก SEC
    -ประกาศยกย่องสมาชิก SEC ที่มีผลงานคุณภาพให้เป็นที่ประจักษ์
    -ให้การช่วยเหลือสมาชิก  SEC ที่มีปัญหาทุกๆ ด้านเท่าที่สามารถทำได้และเหมาะสม
    -จัดพื้นที่สำหรับสมาชิก โดยมีห้อง และสิ่งอำนวยความสะดวกเท่าที่จำเป็น

ผู้รับการบริ้การเป้าหมาย
1.นักศึกษษ ที่สนใจและมีศักยภาพทางธุรกิจ
- นัศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปี 3 ขึ้นไป
- นักศึกษษระดับปริญญาโท
2.0 บัณฑิตและศิลย์เก่าที่สนใจและมีศักยภาพทางธุรกิจ
3.เจ้าของผลงสานวิจัย ผลงานวิชาการและผลงานสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในแนวทางที่เหมาะสม
4.ชมรมผู้ประกอบการนักศึกษา
5. บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่สนใจทางธุรกิจ
6.เอกชนภายนอกที่มีความร่าวมือทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์และวยิชาการของมหาวิทยาลัย

ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริกำารเป้าหมาย
    - อาหาร
    - ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
    - ซอฟแวร์และอิเล็กทรอนิกส์
    - ยานยนต์
    -วิทยาศาสตร์เพื่อสังคม
    - ลองจิสติกส์

โครงสร้างองค์กร
                ชมรมพัฒนานักศึกษาเป็นผู้ประกอบการจัดตั้ง โดยการรับสมัครผู้แทนของคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดตั้งเป็นกลุ่มย่อยตามความถนัด ของนักศึกษา ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 178 คน และมีที่รึกษาประจำชมรมคือ  คณะทำงานของหน่วยบ่มเพราะวิสาหกิจมหาวิทยาลัยรัชภัฏมหาสารคาม

การสนับสนุนจากหน่วยบ่มเพาะ
ส่งเสริมสนับสนุนงลประมาณในลักษณะให้ยืมคืนทุนโดยไม่คิดกำไร ในการดำเนินธุรกิจของสมารชิก  SEC ทุนไม่เกิน 3,000 บาท (หรอตามความเหมาะสมแต่ไม่เกิน 10,000 บาท) โดยมีหลักเกณฑ์ในการกู้ยืมและคนทุนดังนี้
      1.นักศึกษานำเสนอโครงการที่จะจัดทำขึ้นาและนำส่งที่หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ
      2.คัดเลือก่านคณะกรรมการกลั่นกรองของ RMUBI เพ่อที่จะประเมินเบ้องต้นถึงแนวโน้มความเ็นไปได้ของธุรกิจ
      3. ผู้ผ่านการคัดเลือกจะต้องจัดทำแผนธุรกิจ เบ้องต้น ของตนเอง
      4. อนุมัติเงินกู้ยม
      5. เริ่มต้นทำกิจการ

สิทธิประโยชน์
      1.การบริการให้คำปรึกษาแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ
      2.การบริการช่วยเหลือทางด้านวิชาการอบรม และ แผนธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
      3.การศึกษาดูงานในธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
      4.สถานที่จำหน่ายสินค้า
      5.สถาที่ทำงานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักศึกษาที่ต้องการพื้นที่สำหรับทำงานเอกสารต่างๆ RMUBI มีพื้นที่ และบริการสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานให้เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องถ่ายเอกสารอินเตอร์เน็ต และห้องประชุม เป็นต้น




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น